๒๕๕๑/๐๑/๐๖

การสื่อความหมาย(กิจกรรมท้ายบทชุดที่ 2 26 พ.ย.50)

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 4
การสื่อความหมาย
วันที่ 26 / 11 / 50
จงเติมคำลงในช่องว่างต่อไปนี้ให้สมบูรณ์และถูกต้อง

1. คำว่า Communis แปลว่า คล้ายคลึง หรือร่วมกัน
2. การสื่อความหมาย หมายถึง กระบวนการส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เนื้อหาสาระความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์จากบุคคลฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ผู้ส่ง ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ผู้รับ”
3. Sender ---- -- Message------- Channel --------- Receiver

4. สาร หมายถึง เนื้อหาสาระ ความรู้สึก ทัศนคติ ทักษะ ประสบการณ์ ที่มีอยู่ในตัวผู้ส่งสาร หรือแหล่งกำเนิด
5. Elements หมายถึง องค์ประกอบย่อย ๆ พื้นฐานที่จำเป็นต้องมี ตัวอย่าง เช่น สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ หรือสีแดง สีขาว ฯลฯ

6. Structure หมายถึง โครงสร้างที่เกิดจากการนำเอาองค์ประกอบย่อย ๆมารวมกัน
ตัวอย่าง เช่น คำ ประโยค หรือสีสันของรูปร่าง รูปทรง ฯลฯ
7. Content หมายถึง เนื้อหาสาระ ตัวอย่าง เช่น วันลอยกระทง ,การสื่อความหมาย , การบวกลบเลข

8. Treatment หมายถึง วิธีการ ตัวอย่าง เช่น วิธีการทำกระทง ,วิธีการทำแบบฝึกหัด
การบวกลบเลข วิธีการทำ บล็อกส่งอาจารย์มงคล

9. Code หมายถึง รหัส หรือ ภาษาที่ใช้ง่ายต่อการเข้าใจ ฟังแล้วรู้ว่าผู้ส่งต้องการบ่งบอกสิ่งใด
ประกอบด้วย ภาษา / กิริยา/ท่าทาง
ตัวอย่าง เช่น ร้องไห้ หนูแดงไปไหนมา นางนพมาศคือใคร

10. อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายนอก เช่น เสียงดังรบกวน อากาศร้อน
กลิ่นไม่พึงประสงค์ แสงแดด ฝนตก ฯลฯ

11. อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายใน เช่น ความเครียด อารมณ์ขุ่นมัวอาการเจ็บป่วย ความวิตกกังวล ฯลฯ

12. Encode หมายถึง การเข้ารหัส (การเรียบเรียงภาษาที่ใช้ให้เหมาะสมกับผู้ฟัง )

13. Decode หมายถึง การถอดรหัส (การสอนเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์เรื่องการบวก ลบ
จากง่ายไปหายากเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้ในการทำแบบฝึกหัดยิ่งขึ้น)

14. จงอธิบายการสื่อความหมายในการเรียนการสอนมาให้ครบถ้วนและถูกต้อง
กระบวนการเรียนการสอนเป็นกระบวนการสื่อความหมายอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
ครู เนื้อหา,หลักสูตร สื่อ หรือ ช่องทาง นักเรียน

1 ครู ในฐานะเป็นผู้ส่งและผู้กำหนดจุดมุ่งหมายของระบบการสอน
ครูควรปฏิบัติ
1.1 ต้องมีความเข้าใจเนื้อหาที่จะสอนเป็นอย่างดี
1.2 มีความสามารถในการสื่อความหมาย เช่น การพูด การเขียน ลีลา ท่าทาง ฯลฯ
1.3 ต้องจัดบรรยากาศในการเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้
1.4 ต้องวางแผนจัดระบบการถ่ายทอดความรู้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียน
2. เนื้อหา , หลักสูตร ตลอดจนทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์เป็นสิ่งสำคัญที่ครู

จะถ่ายทอดไปสู่ผู้เรียน
2.1 เหมาะสมกับเพศและวัยของผู้เรียน
2.2 สอดคล้องกับเทคนิค วิธีสอน หรือสื่อต่าง ๆ
2.3 เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับกาลเวลา ควรปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ
3. สื่อหรือช่องทาง เป็นตัวกลางหรือพาหนะที่จะนำเนื้อหาจากครูผู้สอนเข้าไปสู่ภายใน

ของผู้เรียนลักษณะของสื่อ
3.1 มีศักยภาพเหมาะสมกับธรรมชาติของเนื้อหา
3.2 สอดคล้องกับธรรมชาติของประสาทสัมผัสแต่ละช่องทาง
3.3 เด่น สะดุดตา ดูง่าย สื่อความหมายได้ดี
4. นักเรียนหรือผู้เรียน เป็นเป้าหมายหลักของกระบวนการเรียนการสอนที่จะทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมี

ประสิทธิภาพ ลักษณะของผู้เรียน
4.1 มีความสมบูรณ์ทางด้านร่างกาย โดยเฉพาะประสาทสัมผัสทั้ง 5
4.2 มีความพร้อมทางด้านจิตใจ อารมณ์มั่นคงปกติ
4.3 มีทักษะในการสื่อความหมาย
4.4 มีเจตคติต่อครูผู้สอนและเนื้อหาวิชา
15. จงอธิบายถึงความล้มเหลวของการสื่อความหมายในการเรียนการสอน
1. ครูผู้สอนไม่บอกวัตถุประสงค์ในการเรียนให้ผู้เรียนทราบก่อนลงมือสอน

ทำให้ผู้เรียนขาดเป้าหมายในการเรียน
2. ครูผู้สอนไม่คำนึงถึงข้อจำกัดและขีดความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน

จึงมักใช้วิธีสอนแบบเดียวกันทุกคน
3. ครูผู้สอนไม่สนใจที่จะจัดบรรยากาศ ขจัดอุปสรรคและสร้างความพร้อมให้แก่ผู้เรียนก่อนลงมือสอน
4. ครูผู้สอนบางคนใช้คำยาก ทำให้ผู้เรียนไม่เข้าใจความหมายของคำ และเนื้อหาโดยรวม
5. ครูผู้สอนมักนำเสนอเนื้อหาวกวน สับสน รวดเร็ว ไม่สัมพันธ์ต่อเนื่อง กระโดดไปมาทำให้เข้าใจยาก
6. ครูผู้สอนไม่สนใจที่จะใช้สื่อการสอนหรือเลือกใช้สื่อการสอนไม่เหมาะกับเนื้อหา และระดับของผู้เรียน

เจ้าดารารัศมี

เจ้าดารารัศมี
พระมเหสีในรัชกาลที่ 5 แห่งล้านนา

เกม1

เกม 2